บทสรุปหลักกฎหมายมหาชน

| ความคิดเห็น

ปัจจุบันระบบกฎหมายของประเทศไทยมีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน คือ

> กฎหมายเอกชน เป็นเรื่องที่เอกชนกับเอกชนมีนิติสัมพันธ์กัน โดยจะยึดหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการแสดงเจตนา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนิติกรรมสัญญาหรือเป็นเรื่องของเอกเทศสัญญาใดๆก็ตาม เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น การพิจารณาเพื่อแสวงหาความยุติธรรมนั้น ศาลจะพิจารณาจาก
1) ข้อเท็จจริง
2) ข้อกฎหมาย
3) ตีความปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย

กล่าวคือจะดูข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นๆว่าเป็นเรื่องอะไร แล้วจึงไปดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงตีความปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมาย

> กฎหมายมหาชน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐ อำนาจรัฐ การปกครองของรัฐ การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่

1) รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกติกาการปกครองของรัฐ กลไกการใช้อำนาจรัฐฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ และองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ

2) กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและการกระทำทางปกครองของฝ่ายปกครอง ซึ่งรวมถึงกฏเกณฑ์เกี่ยวกับโครงสร้างทางปกครอง ซึ่งแบ่งออกเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

3) กฏหมายการคลังและภาษีอากร เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐ การจัดการทรัพย์สินที่เป็นของรัฐ และการใช้จ่ายเงินของรัฐโดยงบประมาณแต่ละปี

ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 สาขานี้ ล้วนมีเป้าหมายเดียวกันคือ "หลักประโยชน์สาธารณะ" เพราะในการปกครองประเทศนั้น การจะกำหนดกลไกการใช้อำนาจรัฐต่างๆ จะต้องเป็นกติกาที่เป็นประโยชน์สาธารณะด้วย แต่ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์เฉพาะผู้ปกครองหรือคนเพียงกลุ่มเดียวแล้ว มันก็จะเป็นกติกาที่ไม่ดี หากนำมาใช้ปกครองประเทศ ย่อมจะต้องเกิดปัญหา เพราะว่ากติกาเหล่านั้น เป็นกติกาที่ไม่ยุติธรรมและไม่เป็นประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ในประเทศ

จะเห็นได้ว่ากฎหมายมหาชนนั้นเป็นเรื่องที่แตกต่างจากกฎหมายเอกชน เพราะกฎหมายมหาชนเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน จึงเป็นเรื่องที่กะทบกับคนหมู่มากของประเทศ กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ การวินิจฉัยคดีที่เกิดขึ้นจึงต้องมีการพิจารณาที่แตกต่างไปจากระบบกฎหมายเอกชน ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันที่มีการตั้งศาลปกครองแยกต่างห่างจากศาลยุติธรรม

ประเด็นเรื่องความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน มี 6 ประการ คือ

1) แตกต่างทางด้านเนื้อหา

2) แตกต่างทางด้านรูปแบบ

3) แตกต่างทางด้านนิติวิธี

4) แตกต่างทางด้านนิติปรัชญา

5) แตกต่างทางด้านเขตอำนาจศาล

6) แตกต่างทางด้านบุคคลที่เข้าไปมีนิติสัมพันธ์


ความหมายของกฎหมาย

กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงให้คำอธิบายไว้ว่า "กฎหมายนั้นคือคำสั่งของผู้ปกครอง ว่าการแผ่นดินต่อราษฎรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามตามธรรมดาต้องมีโทษ" จะเห็นได้ว่าเป็นคำอธิบายในสมัยที่ประเทศไทยยังเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ประกาศพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์คือกฎหมาย แต่ในปัจจุบัน ลักษณะการให้คำอธิบายความหมายของกฎหมาย จะแตกต่างกันออกไป

Share this article :
 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Copyright © 2011. กฎหมายไทย - All Rights Reserved
Template Created by Creating Website Published by Mas Template
Proudly powered by Blogger